อาการเสียของคอมพิวเตอร์ ตอนที่1



กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์

ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป 2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น CMOS checksum Error CMOS BATTERY State LowHDD Controller FailureDiskplay switch not proper ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น 3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้ 4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา 5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? พี่ใหญ่มีคำตอบให้คุณ......................................


ติดตั้งโปรแกรมหรือไดรเวอร์ไปแล้วเข้าวินโดวส์ไม่ได้ ลงโปรแกรม Norton AntiVirus ไปแล้ว พอบูตเครื่องขึ้นมาอีกทีก็เข้าวินโดวส์ไม่ได้แล้ว ปัญหาทำนองนี้พบค่อนข้างบ่อยมาก อาจจะเนื่องมาจากในบ้านเราผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรมเถื่อนที่มีขายอยู่ทั่วไปตามห้างไอที ทำให้บางครั้งในขั้นตอนการผลิตซีดีไม่ได้มาตรฐานไฟล์บางตัวเลยก๊อปปี้มาไม่ครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นซีดีโปรแกรมที่เป็นแผ่น รวมหลายสิบโปรแกรมนั้น ค่อนข้างจะมีปัญหาเยอะมาก เมื่อผู้ใช้ซื้อไปติดตั้งจึงมีปัญหาตามมาหรือบางโปรแกรม เช่น Norton AntiVirus ชอบที่จะเข้าไปขอใช้ไฟล์ระบบที่มีนามสกุล DLL เมื่อมีการติดตั้งไม่สมบูรณ์เลยทำให้ ไม่สามารถเข้าวินโดวส์ได้ อีกสาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากการลงไดรเวอร์นั่นเอง ไดรเวอร์บางตัวก็มักมีปัญหากับระบบปฏิบัติการและชอบเข้าไปยุ่งกับไฟล์ ระบบทำให้วินโดวส์พังก็มีให้เห็นมาแล้ว สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาของ ช่างคอมพิวเตอร์นั้น ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เสียก่อน หากพบว่าได้มีการติดตั้งโปรแกรม หรือไดรเวอร์ลงไปหลังจากนั้นก็ทำให้บูตเข้าวินโดวส์ไม่ได้อีกเลย ให้เราสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเกิดจากสาเหตุการลงโปรแกรมและไดรเวอร์ไม่สมบูรณ์จนอาจทำให้ระบบไม่สามารถบูตได้ โดยเราสามารถแก้ปัญหาได้ดังนี้ ให้บูตเครื่องเข้าสู่ Safe Mode เพราะการเข้าสู่ Safe Mode จะเป็นการเข้าสู่วินโดวส์โดยที่ไม่ จำเป็นต้องใช้ไดรเวอร์หรือไฟล์บางตัว จากนั้นให้เราเข้าไปลบโปรแกรมหรือไดรเวอร์ที่ทำให้เกิดปัญหาออกไปจากเครื่องให้หมดเกลี้ยงอย่าให้เหลือซาก จากนั้นจึงบูตเครื่องเข้าสู่วินโดวส์ได้ตามปกติ
เครื่องบูตขึ้นแต่ไม่สามารถเข้าวินโดวส์ได้ กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านขั้นตอนการ POST แล้ว แต่กลับมาค้างที่หน้าจอแสดงโลโก้วินโดวส์ทำให้ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้เลย บางครั้งก็ยังไม่แสดงโลโก้ของวินโดวส์แต่กลับมีข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Missing Operation System” สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ก่อน ว่าได้มีการลบไฟล์ระบบบางตัวออกไปหรือเปล่า ส่วนใหญ่ปัญหานี้มันเกิดจากไฟล์ระบบ COMMAND.COM เสียหายหรือถูกลบทิ้งไปเนื่องจากว่าไฟล์ COMMAND.COM เป็นไฟล์ที่มีหน้าที่เก็บคำสั่งภายในของระบบดอสเอาไว้ เช่น TYPE, COPY, DIR, DEL นอกจากนี้ก็ยังทำหน้าที่ ติดต่อและแปลคำสั่งของผู้ใช้ผ่านคีย์บอร์ด และนำคำสั่งนั้นไปปฏิบัติงาน ซึ่งนับว่าไฟล์ COMMAND.COM นั้นมีความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่ยังต้องอิงกับระบบดอสอยู่มาก วิธีแก้ไขก็คือ ให้บูตเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk จากนั้นพิมพ์คำสั่ง SYS C: ซึ่งเป็นคำสั่ง ก๊อปปี้ไฟล์ระบบลงไปในไดรฟ์ C: โดยที่ไฟล์ระบบนั้นจะมีไฟล์ COMMAND.COM รวมอยู่ด้วย จากนั้นให้บูตเครื่องขึ้นมาอีกครั้งคราวนี้จะพบว่าสามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แล้ว
ข้อความผิดพลาดที่ 1 : This program has performed anillegal operation and will be shut down. If the problem persists, contact the program vendor ข้อความนี้แจ้งว่าโปรแกรมบางตัวมีปัญหาเราคงต้องมานั่งไล่กันว่าโปรแกรมที่ติดตั้งครั้งหลังสุดคือโปรแกรมอะไร แล้วลองลบออกไปโดยการ Add / Remove Program ใน Control Panel หลังจากนั้น จึงติดตั้งใหม่ โดยแนะนำว่าเปลี่ยนแผ่นโปรแกรมที่ใช้ติดตั้งเสียใหม่ เพราะหากใช้แผ่นเก่าอาจเป็นเหมือนเดิมอีก หรือบางครั้งเกิดจากไฟล์โปรแกรมที่ติดตั้งครั้งหลังสุดมีปัญหากับไฟล์โปรแกรมที่ติดตั้งมาก่อนหน้านี้ เมื่อติดตั้งใหม่จึงอาจมีอาการเหมือนเดิมควรแก้ไขโดยการอัพเดทเป็นโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่
ข้อความผิดพลาดที่ 2 : Improper shut down detected, Checking disk for errore ข้อความนี้แจ้งว่าพบปัญหาผิดพลาดในขั้นตอนการชัตดาวน์ อาจเกิดจากการผู้ใช้ปิดเครื่องไม่ถูกวิธี ทำให้ระบบชัตดาวน์มีปัญหา วิธีแก้ไขคือให้รอสักพักแล้วค่อยกดปุ่ม Esc ระบบก็จะกลับเป็นปกติ ดังนั้นหาก ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก คราวหลังก็ควรปิดคอมพิวเตอร์ให้ถูกวิธีด้วยการชัตดาวน์เครื่องก่อนเสมอ
ข้อความผิดพลาดที่ 3 : Warning Windows has detected a Registry / configuration error. Choose Safe mode to start Windows with minimal set of drivers ข้อความนี้แจ้งว่าพบปัญหาผิดพลาดในรีจิสทรีของวินโดวส์ โดยวินโดวส์จะแนะนำให้เราเข้าไปใน Safe mode เพื่อแก้ปัญหา สำหรับการแก้ปัญหาข้อความนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องหนักหนาและเสี่ยงมากทีเดียว เนื่องจากว่ารีจิสทรีเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่เก็บรายละเอียดและค่าต่าง ๆ ของวินโดวส์ไว้ หากมีปัญหาในส่วนนี้ ต้องอาศัยการแก้ไขอย่างรอบคอบ ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ระบบพังได้ แนะนำว่าให้แก้ปัญหาโดยการติดตั้งวินโดวส์ใหม่ทับลงไปเพื่อให้รีจิสทรีใหม่ทับรีจิสทรีเก่า หรือให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg / restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจิสทรีที่วินโดวส์ได้แบ็คอัพเก็บไว้ 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา เพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครบ ( วิธีหลังนี้อย่าลืมแบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ ไว้เสียก่อนละ )
ข้อความผิดพพลาดที่ 4 : Explorer has caused an error in Kermel132.dll ข้อความนี้แจ้งว่าระบบมีความผิดพลาดในไฟล์ Kernel132.dll ทำให้ผู้ใช้อาจไม่สามารถเข้าไปใน Control panel ได้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนวินโดวส์ Me วิธีแก้ปัญหาคือให้บูตเครื่องใหม่แล้วเข้าไปที่ Safe Mode แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้ 1. ให้ค้นหาไฟล์ที่มีนามสกุล *.cpl โดยเข้าไปค้นหาที่โปรแกรม Search, For Files Or Folders 2. เมื่อพบไฟล์ .cpl แล้ว ซึ่งอยู่ที่ WINDOWS\SYSTEM ให้เปลี่ยนนามสกุลเป็น .Old ทีละไฟล์ แล้วลองเข้าไปทดสอบดูว่าเข้า Control panel ได้หรือยังถ้า ยังไม่ได้ให้กลับไปเปลี่ยนเป็นไฟล์ตัวอื่น จนกว่าจะสำเร็จ เมื่อสำเร็จแล้วเราก็จะสามารถรู้ได้ว่าไฟล์ตัวไหนที่เป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหา3. ให้กลับไปเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ทุกไฟล์ให้กลับเป็นเหมือนเดิม ยกเว้นไฟล์ที่เป็นต้นเหตุ จากนั้นบูตเครื่องขึ้นใหม่
ข้อความผิดพลาดที่ 5 : The selected disk drive is not in use. Check to make sure a disk is inserted. ข้อความนี้แจ้งว่าดิสก์ไดรฟ์ไม่สามารถใช้งานได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการใส่แผ่นดิสก์ลงไปในช่องดิสก์ไดรฟ์แล้ว สำหรับปัญหานี้อาจเกิดจากผู้ใช้ลืมใส่แผ่นดิสก์ลงไปในช่องดิสก์ไดรฟ์ แต่หากได้มี การใส่แผ่นลงไปแล้วปัญหานี้อาจเกิดจากแผ่นดิสก์เสียหรือดิสก์ไดรฟ์มีปัญหา ไม่สามารถใช้งานได้ให้เราทดสอบแผ่นดิสก์โดยนำไปใช้กับเครื่องอื่นหากสามารถใช้ได้ นั่นแสดงว่าเป็นที่ดิสก์ไดรฟ์ต้องถอดมาซ่อมหรือเปลี่ยนเป็นตัวใหม่ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้
ข้อความผิดพลาดที่ 6 : There is not enough free memory to run this program. Quit one or more programs, and try again. ข้อความนี้แจ้งว่าหน่วยความจำที่เหลืออยู่ในระบบไม่เพียงพอในการเปิดโปรแกรม ให้แกจากโปรแกรมแล้วลองเปิดใหม่อีกครั้ง สำหรับสาเหตุของปัญหานั่นคือหน่วยความจำหรือแรมของเครื่องไม่พอนั่นเอง วิธีแก้ปัญหาแบบถาวร ( แต่ต้องเสียเงิน ) ก็คือ ให้ผู้ใช้ซื้อแรมมาติดตั้งเพิ่ม หรือวิธีแก้แบบชั่วคราวก็คือ ในขณะใช้งานแนะนำให้ผู้ใช้ปิดโปรแกรมที่ไม่จำเป็นลงไปบ้าง โดยเฉพาะโปรแกรมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังโดยที่เราไม่ได้เปิดขึ้นมาใช้งาน ให้สังเกตจากบริเวณ System Tray จะมีไอคอนของโปรแกรมนั้นๆ อยู่ ให้จัดการปิดให้หมดหรือโปรแกรมประเภทที่ชอบกินแรม ( Resource Leak ) ซึ่งโปรแกรมพวกนี้แม้ว่าจะปิดโปรแกรมไปแล้วก็ยังไม่ยอมคืนหน่วยความจำกัลบมาสู่ระบบ ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่าระบบของเราเหลือ รีซอร์สเท่าไหร่โดยคลิกขวาที่ My Computer จากนั้นคลิกแท็ป Performance ดูที่ System Resource ว่าเหลือรีซอร์สกี่เปอร์เซ็นต์ หากต่ำกว่าครึ่งก็ให้ปิดโปรแกรมแล้วบูตเครื่องขึ้นมาใหม่โปรแกรมเหล่านั้นก็จะคืนแรมกลับมาเหมือนเดิม
ข้อความผิดพลาดที่ 7 : Error Reading CD-ROM in Drive D: ( หรือไดรฟ์ที่เป็นซีดีรอม ) Please insert CD-ROM XX With Serial Number XX in Drive d: … if the CD-ROM is still the drive, it may require cleaning ข้อความผิดพลาดนี้จะแจ้งขึ้นมาว่าเกิดความผิดพลาดจากการอ่านแผ่นซีดีในไดรฟ์ D: ( หรือไดรฟ์ที่เป็นซีดีรอม ) ซึ่งสาเหตุมาจากที่ผู้ใช้กดปุ่ม Eject เพื่อนำแผ่นซีดีรอมออกมาก่อนที่วินโดวส์ จะอ่านข้อมูลเสร็จ วิธีแก้ไขก็คือ ให้นำแผ่นใส่กลับไปเหมือนเดิมรอจนกว่าวินโดวส์จะอ่านข้อมูลจากแผ่นเสร็จแล้วจึงค่อยนำออกมา โดยให้สังเกตจากหลอดไฟที่ตัวไดรฟ์ซีดีรอม ควรรอให้ไฟหยุดกระพริบเสียก่อน บางครั้งสาเหตุนี้ก็อาจเกิดจากการที่ผู้ใช้นำแผ่นซีดีที่ใช้งานไม่ได้แล้วใส่ลงไป หรือไม่ก็แผ่นซีดีสกปรกจนไดรฟ์ซีดี ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ ควรนำออกมาทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนใส่กลับไปอีกครั้งหนึ่ง
ข้อความผิดพลาดที่ 8 : -0x0000007B INACCESSIBLE_BOOT_DEVICE ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งเป็นโค้ด error โดยใช้เลขฐานเป็นตัวแสดงความผิดพลาด ซึ่งหมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่พบพาร์ทิชั่นที่กำหนด ให้เป็นตัวบูตระบบพาร์ทิชั่นที่กำหนดหรือบูตเซ็กเตอร์เกิดมีปัญหา ให้เราแก้ปัญหาโดยลองบูตระบบขึ้นมาอีกครั้ง หากยังคงไม่ได้ให้นำแผ่น Startup บูตระบบขึ้นมาแทนแล้วใช้คำสั่ง Scandisk เพื่อซ่อมแซม
ข้อความผิดพลาดที่9 : Data Error Reading Drive C: หรือบางครั้งอาจแจ้งว่า Error Reading Drive C: และ Serious Disk Error Writing Drive C: ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่าข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หรือไดรฟ์ C: เกิดความเสียหาย หรือไม่ก็แจ้งว่าไม่สามารถเขียนข้อมูลลงในฮาร์ดดิสก์หรือไดรฟ์ C: ได้เลย ปัญหานี้นับว่าเป็นอันตรายต่อข้อมูลและตัวฮาร์ดดิสก์เองมากที่สุด เพราะเป็นไปได้ว่าฮาร์ดดิสก์ของเราอาจเสียหายได้ วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือใช้คำสั่ง Scandisk เพื่อทำการตรวจสอบและซ่อมแซมในส่วนที่เสียหาย ( Automatically Fix Error ) โดยให้เลือกออปชั่นทุกตัวที่สามารถแก้ไขได้ หากโชคดีฮาร์ดดิสก์ไม่เสียหายมากนักโปรแกรมก็อาจซ่อมแซมได้ แต่ถ้าไม่สามารถ แก้ไขได้คงต้องใช้วิธีสุดท้ายนั่นคือ ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ และทำการ Fdisk เพื่อแบ่งพาร์ทิชั่น กันส่วนที่เสียหายหรือเกิดแบดเซ็กเตอร์นั้นทิ้งไป ก็จะสามารถใช้งานต่อไปได้สักระยะหนึ่ง แต่หากต้องการแก้ปัญหาถาวรควร รีบจัดการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์โดยเร็ว เพราะเป็นไปได้ว่าแบดเซ็กเตอร์อาจลุกลามไปทำลายข้อมูลสำคัญในฮาร์ดดิสก์ได้ ซึ่งไม่คุ้มกันเลย
ข้อความผิดพลาดที่ 10 : -0x0000007F UNEXPECED_KERNEL_MODE_TRAP ข้อความผิดพลาดนี้จะแจ้งเป็นโค้ด error โดยใช้เลขฐานเป็นตัวแสดงความผิดพลาด ซึ่งมีความหมายว่าอาจเกิดปัญหาการทำงานของหน่วยความจำผิดพลาด ให้ตรวจสอบการติดตั้งว่าเสียบแรมลงบนซ็อกเก็ตแรมแน่นดีแล้วหรือไม่และหน่วยความจำที่ใช้เป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ ในเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีทั้งซ็อกเก็ตแรมที่ ใช้กับ SDRAM และ DDR SDRAM หากผู้ใช้ติดตั้งแรมทั้ง 2 ชนิดในเมนบอร์ดตัวเดียวกันอาจทำให้เกิดปัญหานี้ได้ วิธีแก้ไข ให้ใช้แรมชนิดเดียวกันไม่ควรติดตั้งแรม 2 ชนิดบนเมนบอร์ดตัวเดียวกัน อีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการกำหนดค่าในไบออสไม่ถูกต้อง ให้กลับไปกำหนดเป็นค่าเดิม หรือเป็นไปได้ว่าแรมเสียซึ่งมี ทางเดียวคือต้องเปลี่ยนแรมใหม่
ข้อความผิดพลาดที่ 11 : - Not enough memory to render page ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่าหน่วยความจำในการจัดการหน้าเอกสารที่สั่งพิมพ์ไม่เพียงพอ ซึ่งปัญหานี้เกิดจากการที่ผู้ใช้สั่งพิมพ์งานมากเกินไปทำให้หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์นั้นมีไม่เพียงพอ บางครั้งอาจทำให้ระบบเกิดการแฮ็งค์หรือหยุดทำงานไปเฉยๆ ทางแก้ไขปัญหาต้องสั่งพิมพ์ใหม่โดยการแบ่งงานไปพิมพ์ทีละน้อยๆ และอีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากไดรเวอร์ทำงานผิดพลาดอาจต้องไป ดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่ตามเว็บไซต์ของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์นั้น
ข้อความผิดพลาดที่ 12 : Afilename cannot contain any of the following characters: \ / : * ? < > ! ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่า การตั้งชื่อหรือการเปลี่ยนชื่อไฟล์ไม่สามารถตามด้วยอักขระเหล่านี้ได \ / : * ? < > ! แต่บางครั้งแม้จะมีข้อความเตือนแล้ว แต่ก็ยังยอมให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อแล้วตามด้วยอักขระเหล่านี้ด้วยเช่นกัน แต่อาจทำให้ระบบมีปัญหาภายหลังตามมา แนะนำว่าให้ควรไปเปลี่ยนชื่อไฟล์เสียใหม่หรือไม่ต้องตั้งชื่อไฟล์ด้วยอักขระเหล่านี้
ข้อความผิดพลาดที่ 13 : ERROR LOADING CS หรือ NO ROM BASIC SYSTEM HALTED ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่า มีการผิดพลาดในขั้นตอนของการบูตระบบ หรือมีการผิดพลาดจาก การทำงานของหน่วยความจำพื้นฐาน ซึ่งหมายความว่าไบออสไม่สามารถบูตเครื่องขึ้นมาได้เนื่องจากไม่มีไฟล์ระบบ ซึ่งอาจเป็นเพราะการกำหนดค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือในโปรแกรม FDISK กำหนดไดร์ฟเพื่อให้เป็นตัวบูต (Active) ผิด ทำให้ไม่สามารถบูตเครื่องขึ้นมาได้
เครื่องหมายคำถามสีเหลืองตรง device manager คือผมอยากทราบว่าตรง device manager ในส่วนของ System นั้นมีเครื่องหมายคำถามสีเหลืองปรากฎอยู่ แสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นเป็นอะไรครับ หลายคนคงสงสัยว่าในส่วน device manager นั้นมีไว้ทำอะไร ในส่วนของ device manager ก็มีไว้เพื่อแสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง และยังเป็นส่วนที่ใช้ในการลงไดรเวอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ รวม ไปถึงเป็นส่วนที่ใช้ในการแก้ปัญหาการขัดแย้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่อง ส่วนที่ถามว่ามีเครื่องหมายคำถามสีเหลืองปรากฎอยู่ที่หน้าอุปกรณ์ แสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นยังไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็ให้ทำการลงไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ชิ้นนั้นเสียก่อน เมื่อทำการลง ไดรเวอร์อุปกรณ์เสร็จแล้วเจ้าไอคอนรูปสีเหลืองก็จะหายไปเอง นอกจากนั้นคุณอาจพบกับเครื่องหมายตกใจสีเหลืองด้วย นั่นแสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นเคยมีการติดตั้ง ไดรเวอร์ลงไปแล้ว จะเป็นการเตือนว่าคุณได้ใช้ไดรเวอร์ที่ไม่ตรง กับอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้รีบทำการหาไดรเวอร์ของอุปกรณ์ชิ้นนั้นมาทำการติดตั้งเสีย เพราะว่าถ้าไม่ทำการแก้ไขก็จะไม่สามารถใช้งานความสามารถของอุปกรณ์ชิ้นนั้นได้
คอมพิวเตอร์ไม่ทำงานเมื่อคุณสั่งชัตดาวน์ ทำไมคอมพิวเตอร์ของผมจึงหยุดการตอบสนองเอาดื้อ ๆ ทุกครั้งที่ผมทำการปิดระบบวินโดวส์ 98 จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ปัญหานี้มีพบเห็นได้บ่อยครั้งจากผู้ใช้หลาย ๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่มักตีความเป็นว่าวินโดวส์เสีย สุดท้ายก็ทำการลบวินโดวส์แล้วลงใหม่ แต่ความจริงแล้วสาเหตุที่ทำให้เครื่องหยุดการตอบสนอง เมื่อใช้คำสั่งชัตดาวน์นั้นมากจากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุอะไรได้ดังนี้ ตรวจสอบว่าแฟ้มเสียง Exit Windows เสียหายหรือไม่ ถ้าหากว่ามีการตั้งเสียงให้กับวินโดวส์ในส่วนของ Sounds แล้วไฟล์เสียงในส่วนของการออกจากวินโดวส์ (Exit Windows) นั้นเสีย ก็จะทำให้มีปัญหาในการชัตดาวน์ขึ้นมาทันที ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบและทางแก้ไขปัญหาก็มีดังนี้ 1. คลิกปุ่ม Start แล้วเลือกไปที่ Settings>Control Panel จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sounds and … ที่แท็บ Sound ในส่วนของ Sound Events ให้คลิกที่ตัวเลือก Exit Windows จากนั้นกำหนดค่าในส่วนของ Name ให้เป็น (None) แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่าแล้วทำการทดสอบปิดระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าหากว่าวินโดวส์ 98 ปิดระบบได้อย่างถูกต้อง ปัญหา เกิดจากแฟ้มเสียหาย ให้เลือกหนึ่งในปฏิบัติการต่อไปนี้เพื่อแก้ไขปัญหา - ทำการก็อปปี้แฟ้มเสียงจากเครื่องอื่นมาใส่ - ติดตั้งโปรแกรมที่มีแฟ้มเสียงนั้นใหม่อีกครั้ง - กำหนดค่าให้เป็น (None) เพื่อไม่ให้มีการเล่นแฟ้มเสียง Exit Windows ต่อไป ตรวจสอบความสามารถการปิดระบบอย่างรวดเร็ว (Fast shutdown) การปิดระบบอย่างรวดเร็วเป็นคุณลักษณะใหม่ที่รวมอยู่ในวินโดวส์ 98 เพื่อช่วยลดเวลาที่ใช้ในการปิดระบบคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามคุณลักษณะนี้เข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่าง และสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณหยุดการตอบสนองถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งหากว่าเครื่องของคุณเกิดปัญหาก็ให้ลองปิดคุณสมบัติดูดังนี้ 1. คลิกปุ่ม Start จากนั้นเลือกไปที่คำสั่ง Run แล้วพิมพ์คำว่า Msconfig ในส่วนของ Open จากนั้นคลิกปุ่ม OK ในส่วนของแท็บ General ให้คลิกปุ่ม Advanced คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Disable fast shutdown จากนั้นคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า แล้วคลิกปุ่ม Ok อีกครั้ง รอสักครู่วินโดวส์จะแสดงข้อความให้บู๊ตเครื่องใหม่ ก็ให้คลิกปุ่มเพื่อทำการบู๊ตเครื่องใหม่ได้ทันที เมื่อเข้าสู่วินโดวส์อีกครั้ง ก็ให้ลองปิดระบบคอมพิวเตอร์ถ้าคอมพิวเตอร์ปิดระบบอย่างถูกต้อง คุณลักษณะการปิดระบบอย่างรวดเร็วอาจเข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อย่างน้อยหนึ่ง อย่างที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณ คราวนี้ก็ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนใด ๆ เพิ่มเติมแล้ว
ซัตดาวน์แล้วปรากฎข้อความ “Window protect error” ทำไมเวลาที่ทำการชัตดาวน์เครื่องคอม จะขึ้นข้อความว่า “Windows protection error system hault” แล้วก็จะให้รีสตาร์เครื่องใหม่ทุกที ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรดี ปัญหานี้มักจะเกิดจาการไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ประเภทการ์ดจอ และเมนบอร์ดเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการแก้ไขทั่ว ๆ ไปก็ให้เข้าไปดาวน์โหลด ไดรเวอร์ตัวใหม่จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต มาแทนไดรเวอร์ตัวเก่า ส่วนคนที่ใช้การ์ดจอของ Nvidia และใช้ไดรเวอร์ Deternator 3 (6.xx) ก็จะเกิดปัญหานี้ด้วย เพราะว่า Detemator 3 (6.xx) จะไม่ทำการเคลียร์แรมเมื่อเลิกใช้งาน พอทำการชัตดาวน์วินโดวส์มันจะจัดการกับแรมที่ค้างไม่ได้ จึงขึ้นข้อความว่า “Protection Error” ทางแก้ไขนั้นทำการดาวโหลดไดรเวอร์การ์ดจอของ Nvidia เวอร์ชั่น 7.xx มาใช้งาน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ Nvidia แต่ไดรเวอร์ตัวนี้ก็ยังมีปัญหาในการเล่น Mode 3D วิธีแก้ก็ให้คุณทำการรีสตาร์ทใหม่ 1 ครั้ง แล้วค่อยชัตดาวน์ครับ
บูตเข้าวินโดวส์ไม่ได้เพราะรีจิสทรีพัง มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แต่มีอย ู่สาเหตุหนึ่งที่ค่อนข้างร้ายแรงและแก้ไขได้ยากคือสาเหตุที่เกิดจากรีจิสทรีพัง รีจิสทรีคืออะไรสำคัญขนาดไหนช่างคอมพิวเตอร์มือใหม่ควรต้องรู้จักและเรียนรู่ไว้ เพราะรีจิสทรีมีความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการวินโดวส์มาก แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักไม่ค่อยได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมัน จึงอาจไม่ทราบว่ารีจิสทรีมีความสำคัญมากทีเดียว โดยรีจิสทรีของวินโดวส์จะทำหน้าที่เป็นฐาน ข้อมูลสำหรับวินโดวส์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับโปรแกรมขนาด 32 บิต รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การกำหนดค่าต่างๆ และการทำงานของผู้ใช้ ดังนั้นหากรีจิสทรีเกิดไม่สามารถทำงานได้หรือล่ม ขึ้นมา จะทำให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้ด้วยเช่นกัน นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้ผู้สร้างไวรัสทั้งหลาย เขียนไวรัสขึ้นมาโดยมีเป้าหมายในการโจมตีรีจิสทรี โดยตรง นอกจากสาเหตุไวรัสเข้าทำลายรีจิสทรีแล้ว การติดตั้งโปรแกรมต่างๆที่มีปัญหากับรีจิสทรี หรือไฟล์ รีจิสทรีถูกลบทิ้งไปก็ทำให้เกิดปัญหากับรีจิสทรีและระบบวินโดวส์ได้ มีผู้ใช้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าฮาร์ดดิสก์พัง เนื่องจากไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แต่ความจริงแล้วหลายสาเหตุมักเกิดมาจากเจ้ารีจิสทรีนั่นเอง
เผลอใช้คำสั่ง Empty Recycle Bin ทำอย่างไรจะกู้ไฟล์คืนมาได้ พอดีผมเผลอไปลบไฟล์ภายในเครื่องเข้า แล้วลืมไปใช้คำสั่ง ๆ Empty Recycle Bin ทำให้ไฟล์ใน ถังขยะหายไปหมด จะมีวิธีใดบ้างที่ผมจะสามารถกู้ไฟล์นั้นคืนมา เพราะเคยทราบว่ามีวีธีการทำได้แม้ลบจาก Recycle Bin แล้วก็ตาม บ้างครั้งเราอาจลืมลบไฟล์สำคัญ ๆ ไป แต่ด้วยความที่คิดว่ามันยังอยู่ในถึงขยะจึงยังไม่ทำการกู้ข้อมูลคืนมา เวลาผ่านไปเนิ่นนามดันลืมก็เลยไปเผลอใช้คำสั่ง Empty Recycle Bin คราวนี้หลาย ๆ คนไมเกรนคงถามหาเป็นแน่ ฉะนั้นหากว่าจะลบไฟล์อะไรอย่าลืมคิดสักนิด ดูให้ดีก่อนว่าจะยังคงใช้ไฟล์นั้นหรือไม่ เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจึงลบไฟล์นั้นทิ้งไป จากปัญหาในข้อนี้ทางแก้ไขของปัญหานั้น ก็ให้ลองหาโปรแกรมที่ชื่อ Lost and Found หรือ recover4all มาใช้ดู (หาได้จากเว็บไซต์; Download.com) แต่จะกู้ได้ 100% หรือเปล่านั้นผมไม่รับรองนะครับ แต่ผลการทดลองใช้งานดูก็พบว่ามันสามารถทำการกู้ข้อมูลกลับมาได้พอสมควร แต่กระนั้นโปรแกรมนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อไฟล์นั้น ๆ เพิ่งถูกลบทิ้งไป แต่ถ้าลบทิ้งไป นานแล้วอาจจะไม่ได้คืนมาทั้งหมดหรืออาจไม่สามารถกู้ข้อมูลได้เลย ฉะนั้นหากเกิดปัญหาลักษณะนี้ต้องรีบกู้ข้อมูลโดยเร็ว โดยขึ้นตอนในการกู้จะใช้เวลานานพอสมควรฉะนั้นอย่าใจร้อน…….รอหน่อย