เครื่องคอมฯ อืดจังเลยเพราะอารัยเหรอ
ช่วงนี้ไม่รู้เป็นอะไร มีแต่คนใกล้ตัวมาบ่นเรื่องอุปกรณ์ไอทีกันได้ทุกวี่วัน เดี๋ยวมือถือโทร.ไม่ติด พีดีเอดับเอง กล้องดิจิตอลถ่ายแล้วภาพไม่ชัด นานาสารพัดปัญหาจริงๆ แต่ปัญหาหนึ่งที่เรียกว่าเป็นปัญหายอดนิยม ที่คงไม่มีใครคนไหนอยากพบเจอ ก็คือปัญหาคอมพิวเตอร์ตัวเก่ง ไม่ว่าจะเป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือโน้ตบุ๊กออกอาการชราภาพก่อนวัยอันควร ทั้งๆ ที่เพิ่งจะซื้อมา หรือเพิ่งจะอัพเกรดมาไม่นาน
จริงๆ แล้วการที่เราพิถีพิถันเลือกดูสเปก หรือโน้ตบุ๊กนั้น เราๆ ท่านๆ ก็มักจะดูสเปกเผื่อเอาไว้สำหรับอนาคตกันอยู่แล้ว ส่วนใครจะเผื่อมากเผื่อน้อยก็อยู่ที่งบประมาณเท่านั้นเอง แต่การที่คอมพิวเตอร์ของเรานั้นกลับทำงานได้ช้าลง ช้าลง และช้าลงทุกวัน นับตั้งแต่เราซื้อมันมาใช้งานนั้น สาเหตุอานไม่ได้มาจากความเก่าของตัวฮาร์ดแวร์ภายในเพียงอย่างเดียว การดูแลรักษาและการจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเราเอง ก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สุดที่รักของเรา อยู่คู่กับเราไปนานๆ เท่าที่เราหวังไว้
มาลองดูดีกว่าครับว่า ปัญหาหลักๆ ของการที่คอมพิวเตอร์ตัวเก่งเริ่มออกอาการงอแง หรือออกอาการชราภาพก่อนวัยอันควรนั้น มีสาเหตุหลักๆ อะไรบ้าง และจะมีหนทางแก้ไขอย่างไร
เคยมีการสำรวจแล้วพบว่า กว่า 70% ของปัญหาที่ทำให้คอมพ์เกิดอาการรวน แฮงก์ เดี้ยง หรืออืดนั้น มาจากซอฟต์แวร์ ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์อย่างที่หลายคนเข้าใจ และกว่า 50% ของปัญหาที่เกิดจากซอฟต์แวร์นั้นมาจากการที่ผู้ใช้ทำการติดตั้งโปรกแกรมเอาไว้มากเกินไป และมีโปรแกรมที่ทำงานซ้ำซ้อนกันหลายตัว
เริ่มสำรวจด่วนเลยครับ ว่าปัญหาของเราเข้าข่ายนั้นหรือเปล่า? โดยกดคลิ้กเข้าไปที่ Control Panel และไปตรวจสอบที่ Add or Remove Programs ว่าเรานั้นได้ทำการ Install โปรแกรมต่างๆ ไว้เกินความจำเป็นหรือไม่? มีโปรแกรมอะไรบ้างที่ทำงานซ้ำซ้อนกัน มีโปรแกรมประเภท Media Player ทั้งหลายนี้แหละครับ ไม่ว่าจะเป็น RealPlayer, Quicktime, iTunes, WinAmp หรือแม้แต่ WinDVD กับ PowerDVD เองก็ตาม โปรแกรมเหล่านี้มักมีความสามารถเหมือนๆ กัน มีความแตกต่างกันในความสามารถที่จะรองรับไฟล์เฉพาะบางตัว จึงทำให้หลายคนต้องลงโปรแกรมเหล่านี้ลงไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกัน
ไฟล์นามสกุล rm, rmvb, mov, avi, divx, wmv และ mpeg ถือเป็นฟอร์แมตมาตรฐานสำหรับไฟล์วีดีโอในปัจจุบัน โดยเฉพาะ avi และ divx ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อย่างที่กล่าวมาข้างต้นครับ โดยปกติหากต้องการให้เครื่องของเรานั้นสามารถเล่นไฟล์วีดีโอเหล่านี้ให้ได้ครบทุกตัว อาจต้องลงโปรแกรมถึง 4-5 ตัวทีเดียว อันที่จริงหากเราลอง Search ดูจากในอินเทอร์เน็ตจะพบว่าเราไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้นก็ได้ เพราะจะมีโปรแกรมบางตัวที่เราอาจไม่คุ้นหูนักสามารถรองรับไฟล์เหล่านี้ได้ครบถ้วนแถมยังฟรีอีกต่างหาก อย่างโปรแกรม K-Lite Codec Pack (http://www.free-codecs.com/) ที่ได้มีการรวบรวม codec สำหรับไฟล์มีเดียต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลกไว้อย่างครบถ้วน แถมยังมีตัว Media Player Classic เอาไว้สำหรับเล่นไฟล์มีเดียเหล่านั้นอีกด้วย เรียกว่าลงโปรแกรมเดียว รองรับไฟล์มีเดียได้ครบทุกฟอร์แมตกันเลย
ย้อนกลับมาที่โปรแกรมพื้นฐานของระบบปฏิบัติการวินโดวส์อย่าง Windows Media Player กันบ้าง ซึ่งหลายคนละเลยที่จะทำความรู้จักกับโปรแกรมตัวนี้ ทั้งๆ ที่มันก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพด้อยไปกว่าโปรแกรม Media Player อื่นๆ เลยโดยเฉพาะในเวอร์ชันล่าสุด WindowsMediaPlayer11 (www.microsoft.com/Windows/windowsmedia/player/11/default.aspx) ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากไมโครซอฟท์ ได้มีการพัฒนาขึ้นมามาก มีความสามารถในการเล่นภาพยนตร์จาก CD/DVD ได้ไม่น้อยหน้า PowerDVD หรือ WinDVD
ส่วนในการเล่นไฟล์เพลงอย่าง MP3 ยอดนิยมนั้น ก็ทำได้ไม่แพ้ iTunes และอาจเรียกได้ว่าดีกว่า WinAmp แล้วด้วยซ้ำไป ซึ่งถือว่า Windows Media Player 11 เป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ ที่จะเลือกไว้เป็นโปรแกรมสำหรับเล่นภาพยนตร์จากแผ่น CD/DVD และเล่นไฟล์เพลงดิจิตอลบนคอมพ์ของคุณโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นให้เสียเวลา
ยังมีโปรแกรมอีกหลายตัวที่หลายคนนิยมติดตั้งไว้ในคอมพ์และทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน อย่างโปรแกรมประเภทบีบอัดไฟล์ ที่เมื่อพูดถึงทุกคนมักนึกถึง WinZip แต่ปัจจุบันหากใครเป็นเซียนดาวน์โหลดสักหน่อย จะพบว่าอีกฟอร์แมตที่มักได้รับความนิยมคือ .rar ซึ่งก็ไม่ใช่ฟอร์แมตอะไร โปรมแกรมที่สามารถใช้เปิดไฟล์นามสกุลนี้ได้คือ WinRAR และหากมองดูในความสามารถกันจริง ๆ WinZip และ WinRAR ต่างทำหน้าที่เหมือนกันคือ บีบอัด และคลายไฟล์ ต่างกันเพียงความสามารถในการรองรับไฟล์ฟอร์แมตเท่านั้นเอง
คำแนะนำจากผมคือ ให้เลือกติดตั้งเพียงตัวเดียว คุณจะพบว่าหน้าต่างของ context menus เวลาที่คลิ้กขวาจะมีทั้งฟังก์ชันจาก WinZip และ WinRAR (http://www.rarlab.com/) นั่นเอง สาเหตุเพราะมันรองได้ฟอร์แมตได้ทุกตัวที่ Winzip สามารถรองรับได้แถมยังรองรับได้มากกว่าอีกด้วย นี่เป็นเพียงตัวหลักๆ เท่านั้นนะครับ อย่าลืมสำรวจดูในคอมพ์ของคุณก็แล้วกันว่า เราได้ติดตั้งโปรแกรมอะไรลงไปแล้วไม่ค่อยได้ใช้งาน หรือได้ติดตั้งลงไปหลายตัวและมีการทำงานที่คล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกันหรือไม่? เลือกที่จะลบออกไปบ้าง จะทำให้เนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณเพิ่มขึ้น รวมถึงเครื่องก็จะมีเสถียรภาพและความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วยครับหากพูดถึงการจัดระเบียบฮาร์ดดิสก์เชื่อว่าหลายคนจะนึกถึงการใช้ยูทิลิตี้ที่ชื่อว่า Disk Defragmenter ที่มาพร้อมกับตัวระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งนั้นก็ถือว่าเป็นวิธีที่ใช้จัดระเบียบฮาร์ดดิสก์ที่ดีและควรทำวิธีหนึ่งเช่นกัน และผมแนะนำให้ทำอย่างน้อยเดือนละครั้งครับ แต่ครั้งนี้ผมจะไม่พูดถึงเฉพาะการทำDisk Defragment เท่านั้นนะครับ เพราะการจัดระเบียบให้กับฮาร์ดดิสก์เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานนั้น ยังมีอะไรนอกเหนือจากนั้นอีก เริ่มต้นตั้งแต่คุณได้ซื้อฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่กันเลยทีเดียว
ในปัจจุบันขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แถมราคาก็ถูกลง จะเห็นได้ว่าในท้องตลาดตอนนี้ขนาดความจุต่ำสุดจะเริ่มต้นที่ประมาณ 80 กิกะไบต์ หรือ 100 กิกะไบต์กันแล้วโดยเฉพาะผู้ที่ซื้อมาเพื่อทำการอัพเกรดคอมพ์ตัวเก่านั้น หลายคนไม่ได้ทำการถอดเอาฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าทิ้งไป หากแต่ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ลงไปให้ทำงานคู่กันกับตัวเก่าเลย
คำแนะนำในการติดตั้งของผมก็คือ ให้ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่เป็น Master และให้นำตัวเก่ามาทำเป็น Slave โดยให้ทำการฟอร์แมตระบบปฏิบัติการวินโดวส์ในลูกเก่าออกเสียและติดตั้งใหม่ลงบนฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่แทน อีกสิ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาด ก็คือการแบ่งพาร์ทิชันให้กับฮาร์ดดิสก์ของคุณ
ส่วนระบบ Files System นั้น ผมแนะนำให้ใช้ NTFS แทน FAT32 เพราะในการทำงานกับฮาร์ดดิสก์ความจุสูง ๆ NTFS นั้นจะทำงานได้รวดเร็วกว่าแบบ NTFS นั้นจะทำงานได้รวดเร็วกว่าแบบ FAT32 ที่เราคุ้นเคยกันอยู่ พร้อมกันยังมีระบบการทำงานที่ดีกว่า อาทิการรองรับขนาดของไฟล์ได้สูงสุดที่16 TB (16,000 กิกะไบต์) ขณะที่ FAT32 นั้นรองรับสูงสุดเพียง 2 กิกะไบต์เท่านั้น (ลองนึกถึงการทำอิมเมจของไฟล์ภาพยนตร์ดีวีดีสักหนึ่งแผ่นที่ปกติจะมีขนาดประมาณ 3-4 กิกะไบต์ ถ้าเป็นบนระบบ FAT32 จะไม่สามารถทำได้เพราะระบบ FAT32 จะไม่รองรับไฟล์ที่มีขนาดสูงกว่า 2 กิกะไบต์ ในขณะที่ NTFS นั้นทำได้สบายๆ ครับ) และ NTFS ยังมีอัตราการสูญเสียเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ไปอย่างเปล่าประโยชน์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ Cluster Size นั้นน้อยกว่า FAT32 มากทีเดียว เมื่อใช้กับพาร์ทิชันที่มีขนาดสูงกว่า 8 กิกะไบต์
สำหรับผู้ที่ใช้ระบบ Files System แบบ FAT32 อยู่ขณะนี้ แล้วไม่อยากจะฟอร์แมตใหม่เพื่อเปลี่ยนระบบ Files System ให้เป็น NTFS ผมก็มีวิธีนำมาเสนออย่างง่าย ๆ นะครับ โดยให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- กดคลิ้กที่ Start เลือกไปที่ Run แล้วพิมพ์คำว่า cmd และกด Enter จากนั้นจะมีหน้าต่าง Dos ขึ้นมา- ให้พิมพ์ cd\ และกด Enter ก่อน เพื่อเคลียร์ Directory ไป จากนั้นพิมพ์คำว่า CONVERT ไดรฟ์ที่ต้องการแปลง /FS:NTFS ครับ สมมติผมต้องการจะแปลงไดรฟ์ C: ให้เป็น NTFS ผมก็จะพิมพ์ว่า CONVERT C:/FS:NTFS และกด Enter ครับ- ลำดับต่อไปก็จะให้ใส่ Volume Lable ของไดรฟ์นั้นๆ ที่เราต้องการจะ Convert ซึ่งเราสามารถดูได้จากการพิมพ์ dir/w ครับ- เมื่อใส่ Volume Label ลงไปก็ให้กด Enter หลังจากนั้นก็จะมีคำถามขึ้นมาเพื่อยืนยันการแปลงระบบ ให้เราตอบ Y ไป เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ* อย่าลืมที่จะเก็บข้อมูลสำคัญๆ ก่อนทำการเปลี่ยนแปลงระบบ Files System ไม่สมบูรณ์ จะพาลให้ข้อมูลเสียหาย จนอาจจะถึงขั้นต้องฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เลยนะครับ
จริงๆ แล้วการที่เราพิถีพิถันเลือกดูสเปก หรือโน้ตบุ๊กนั้น เราๆ ท่านๆ ก็มักจะดูสเปกเผื่อเอาไว้สำหรับอนาคตกันอยู่แล้ว ส่วนใครจะเผื่อมากเผื่อน้อยก็อยู่ที่งบประมาณเท่านั้นเอง แต่การที่คอมพิวเตอร์ของเรานั้นกลับทำงานได้ช้าลง ช้าลง และช้าลงทุกวัน นับตั้งแต่เราซื้อมันมาใช้งานนั้น สาเหตุอานไม่ได้มาจากความเก่าของตัวฮาร์ดแวร์ภายในเพียงอย่างเดียว การดูแลรักษาและการจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเราเอง ก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สุดที่รักของเรา อยู่คู่กับเราไปนานๆ เท่าที่เราหวังไว้
มาลองดูดีกว่าครับว่า ปัญหาหลักๆ ของการที่คอมพิวเตอร์ตัวเก่งเริ่มออกอาการงอแง หรือออกอาการชราภาพก่อนวัยอันควรนั้น มีสาเหตุหลักๆ อะไรบ้าง และจะมีหนทางแก้ไขอย่างไร
เคยมีการสำรวจแล้วพบว่า กว่า 70% ของปัญหาที่ทำให้คอมพ์เกิดอาการรวน แฮงก์ เดี้ยง หรืออืดนั้น มาจากซอฟต์แวร์ ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์อย่างที่หลายคนเข้าใจ และกว่า 50% ของปัญหาที่เกิดจากซอฟต์แวร์นั้นมาจากการที่ผู้ใช้ทำการติดตั้งโปรกแกรมเอาไว้มากเกินไป และมีโปรแกรมที่ทำงานซ้ำซ้อนกันหลายตัว
เริ่มสำรวจด่วนเลยครับ ว่าปัญหาของเราเข้าข่ายนั้นหรือเปล่า? โดยกดคลิ้กเข้าไปที่ Control Panel และไปตรวจสอบที่ Add or Remove Programs ว่าเรานั้นได้ทำการ Install โปรแกรมต่างๆ ไว้เกินความจำเป็นหรือไม่? มีโปรแกรมอะไรบ้างที่ทำงานซ้ำซ้อนกัน มีโปรแกรมประเภท Media Player ทั้งหลายนี้แหละครับ ไม่ว่าจะเป็น RealPlayer, Quicktime, iTunes, WinAmp หรือแม้แต่ WinDVD กับ PowerDVD เองก็ตาม โปรแกรมเหล่านี้มักมีความสามารถเหมือนๆ กัน มีความแตกต่างกันในความสามารถที่จะรองรับไฟล์เฉพาะบางตัว จึงทำให้หลายคนต้องลงโปรแกรมเหล่านี้ลงไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกัน
ไฟล์นามสกุล rm, rmvb, mov, avi, divx, wmv และ mpeg ถือเป็นฟอร์แมตมาตรฐานสำหรับไฟล์วีดีโอในปัจจุบัน โดยเฉพาะ avi และ divx ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อย่างที่กล่าวมาข้างต้นครับ โดยปกติหากต้องการให้เครื่องของเรานั้นสามารถเล่นไฟล์วีดีโอเหล่านี้ให้ได้ครบทุกตัว อาจต้องลงโปรแกรมถึง 4-5 ตัวทีเดียว อันที่จริงหากเราลอง Search ดูจากในอินเทอร์เน็ตจะพบว่าเราไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้นก็ได้ เพราะจะมีโปรแกรมบางตัวที่เราอาจไม่คุ้นหูนักสามารถรองรับไฟล์เหล่านี้ได้ครบถ้วนแถมยังฟรีอีกต่างหาก อย่างโปรแกรม K-Lite Codec Pack (http://www.free-codecs.com/) ที่ได้มีการรวบรวม codec สำหรับไฟล์มีเดียต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลกไว้อย่างครบถ้วน แถมยังมีตัว Media Player Classic เอาไว้สำหรับเล่นไฟล์มีเดียเหล่านั้นอีกด้วย เรียกว่าลงโปรแกรมเดียว รองรับไฟล์มีเดียได้ครบทุกฟอร์แมตกันเลย
ย้อนกลับมาที่โปรแกรมพื้นฐานของระบบปฏิบัติการวินโดวส์อย่าง Windows Media Player กันบ้าง ซึ่งหลายคนละเลยที่จะทำความรู้จักกับโปรแกรมตัวนี้ ทั้งๆ ที่มันก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพด้อยไปกว่าโปรแกรม Media Player อื่นๆ เลยโดยเฉพาะในเวอร์ชันล่าสุด WindowsMediaPlayer11 (www.microsoft.com/Windows/windowsmedia/player/11/default.aspx) ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากไมโครซอฟท์ ได้มีการพัฒนาขึ้นมามาก มีความสามารถในการเล่นภาพยนตร์จาก CD/DVD ได้ไม่น้อยหน้า PowerDVD หรือ WinDVD
ส่วนในการเล่นไฟล์เพลงอย่าง MP3 ยอดนิยมนั้น ก็ทำได้ไม่แพ้ iTunes และอาจเรียกได้ว่าดีกว่า WinAmp แล้วด้วยซ้ำไป ซึ่งถือว่า Windows Media Player 11 เป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ ที่จะเลือกไว้เป็นโปรแกรมสำหรับเล่นภาพยนตร์จากแผ่น CD/DVD และเล่นไฟล์เพลงดิจิตอลบนคอมพ์ของคุณโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นให้เสียเวลา
ยังมีโปรแกรมอีกหลายตัวที่หลายคนนิยมติดตั้งไว้ในคอมพ์และทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน อย่างโปรแกรมประเภทบีบอัดไฟล์ ที่เมื่อพูดถึงทุกคนมักนึกถึง WinZip แต่ปัจจุบันหากใครเป็นเซียนดาวน์โหลดสักหน่อย จะพบว่าอีกฟอร์แมตที่มักได้รับความนิยมคือ .rar ซึ่งก็ไม่ใช่ฟอร์แมตอะไร โปรมแกรมที่สามารถใช้เปิดไฟล์นามสกุลนี้ได้คือ WinRAR และหากมองดูในความสามารถกันจริง ๆ WinZip และ WinRAR ต่างทำหน้าที่เหมือนกันคือ บีบอัด และคลายไฟล์ ต่างกันเพียงความสามารถในการรองรับไฟล์ฟอร์แมตเท่านั้นเอง
คำแนะนำจากผมคือ ให้เลือกติดตั้งเพียงตัวเดียว คุณจะพบว่าหน้าต่างของ context menus เวลาที่คลิ้กขวาจะมีทั้งฟังก์ชันจาก WinZip และ WinRAR (http://www.rarlab.com/) นั่นเอง สาเหตุเพราะมันรองได้ฟอร์แมตได้ทุกตัวที่ Winzip สามารถรองรับได้แถมยังรองรับได้มากกว่าอีกด้วย นี่เป็นเพียงตัวหลักๆ เท่านั้นนะครับ อย่าลืมสำรวจดูในคอมพ์ของคุณก็แล้วกันว่า เราได้ติดตั้งโปรแกรมอะไรลงไปแล้วไม่ค่อยได้ใช้งาน หรือได้ติดตั้งลงไปหลายตัวและมีการทำงานที่คล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกันหรือไม่? เลือกที่จะลบออกไปบ้าง จะทำให้เนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณเพิ่มขึ้น รวมถึงเครื่องก็จะมีเสถียรภาพและความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วยครับหากพูดถึงการจัดระเบียบฮาร์ดดิสก์เชื่อว่าหลายคนจะนึกถึงการใช้ยูทิลิตี้ที่ชื่อว่า Disk Defragmenter ที่มาพร้อมกับตัวระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งนั้นก็ถือว่าเป็นวิธีที่ใช้จัดระเบียบฮาร์ดดิสก์ที่ดีและควรทำวิธีหนึ่งเช่นกัน และผมแนะนำให้ทำอย่างน้อยเดือนละครั้งครับ แต่ครั้งนี้ผมจะไม่พูดถึงเฉพาะการทำDisk Defragment เท่านั้นนะครับ เพราะการจัดระเบียบให้กับฮาร์ดดิสก์เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานนั้น ยังมีอะไรนอกเหนือจากนั้นอีก เริ่มต้นตั้งแต่คุณได้ซื้อฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่กันเลยทีเดียว
ในปัจจุบันขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แถมราคาก็ถูกลง จะเห็นได้ว่าในท้องตลาดตอนนี้ขนาดความจุต่ำสุดจะเริ่มต้นที่ประมาณ 80 กิกะไบต์ หรือ 100 กิกะไบต์กันแล้วโดยเฉพาะผู้ที่ซื้อมาเพื่อทำการอัพเกรดคอมพ์ตัวเก่านั้น หลายคนไม่ได้ทำการถอดเอาฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าทิ้งไป หากแต่ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ลงไปให้ทำงานคู่กันกับตัวเก่าเลย
คำแนะนำในการติดตั้งของผมก็คือ ให้ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่เป็น Master และให้นำตัวเก่ามาทำเป็น Slave โดยให้ทำการฟอร์แมตระบบปฏิบัติการวินโดวส์ในลูกเก่าออกเสียและติดตั้งใหม่ลงบนฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่แทน อีกสิ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาด ก็คือการแบ่งพาร์ทิชันให้กับฮาร์ดดิสก์ของคุณ
ส่วนระบบ Files System นั้น ผมแนะนำให้ใช้ NTFS แทน FAT32 เพราะในการทำงานกับฮาร์ดดิสก์ความจุสูง ๆ NTFS นั้นจะทำงานได้รวดเร็วกว่าแบบ NTFS นั้นจะทำงานได้รวดเร็วกว่าแบบ FAT32 ที่เราคุ้นเคยกันอยู่ พร้อมกันยังมีระบบการทำงานที่ดีกว่า อาทิการรองรับขนาดของไฟล์ได้สูงสุดที่16 TB (16,000 กิกะไบต์) ขณะที่ FAT32 นั้นรองรับสูงสุดเพียง 2 กิกะไบต์เท่านั้น (ลองนึกถึงการทำอิมเมจของไฟล์ภาพยนตร์ดีวีดีสักหนึ่งแผ่นที่ปกติจะมีขนาดประมาณ 3-4 กิกะไบต์ ถ้าเป็นบนระบบ FAT32 จะไม่สามารถทำได้เพราะระบบ FAT32 จะไม่รองรับไฟล์ที่มีขนาดสูงกว่า 2 กิกะไบต์ ในขณะที่ NTFS นั้นทำได้สบายๆ ครับ) และ NTFS ยังมีอัตราการสูญเสียเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ไปอย่างเปล่าประโยชน์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ Cluster Size นั้นน้อยกว่า FAT32 มากทีเดียว เมื่อใช้กับพาร์ทิชันที่มีขนาดสูงกว่า 8 กิกะไบต์
สำหรับผู้ที่ใช้ระบบ Files System แบบ FAT32 อยู่ขณะนี้ แล้วไม่อยากจะฟอร์แมตใหม่เพื่อเปลี่ยนระบบ Files System ให้เป็น NTFS ผมก็มีวิธีนำมาเสนออย่างง่าย ๆ นะครับ โดยให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- กดคลิ้กที่ Start เลือกไปที่ Run แล้วพิมพ์คำว่า cmd และกด Enter จากนั้นจะมีหน้าต่าง Dos ขึ้นมา- ให้พิมพ์ cd\ และกด Enter ก่อน เพื่อเคลียร์ Directory ไป จากนั้นพิมพ์คำว่า CONVERT ไดรฟ์ที่ต้องการแปลง /FS:NTFS ครับ สมมติผมต้องการจะแปลงไดรฟ์ C: ให้เป็น NTFS ผมก็จะพิมพ์ว่า CONVERT C:/FS:NTFS และกด Enter ครับ- ลำดับต่อไปก็จะให้ใส่ Volume Lable ของไดรฟ์นั้นๆ ที่เราต้องการจะ Convert ซึ่งเราสามารถดูได้จากการพิมพ์ dir/w ครับ- เมื่อใส่ Volume Label ลงไปก็ให้กด Enter หลังจากนั้นก็จะมีคำถามขึ้นมาเพื่อยืนยันการแปลงระบบ ให้เราตอบ Y ไป เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ* อย่าลืมที่จะเก็บข้อมูลสำคัญๆ ก่อนทำการเปลี่ยนแปลงระบบ Files System ไม่สมบูรณ์ จะพาลให้ข้อมูลเสียหาย จนอาจจะถึงขั้นต้องฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เลยนะครับ